รู้ หรือ ไม่ การวัดสายด้วย "ระบบคอมพิวเตอร์" ไม่แม่นอย่างที่คิด

รู้ หรือ ไม่ การวัดสายด้วย "ระบบคอมพิวเตอร์" ไม่แม่นอย่างที่คิด

คำถาม : วัดสายตาโดยใช้แค่ คอมวัดสายตา(Auto Refractor) และเลนส์เสียบ(Trial lens) เพียงพอหรือไม่ ?
คำตอบ : ไม่เพียงพอเนื่องจากการตรวจวัดสายตาด้วยเครื่อง Autorefractor อย่างเดียว อาจทำให้ แว่นสายตาที่ได้ยังไม่สามารถใช้งานได้จริง แถมยังมีอาการ ปวดหัว เวียนหัว พื้นลอย อีกต่างหาก นั่นก็เพราะว่าวัดสายตาด้วยวิธีนี้อย่างเดียวมีปัจจัยอยู่หลายอย่างที่ทำให้ค่าสายตาที่ออกมามีความคลาดเคลื่อนสูง เช่น การพยายามมองบ้าน หรือ บอลลูน ให้ชัด หน้าผากไม่ชิด เป็นต้น เพราะฉะนั้นการตรวจวัดสายตาที่ดี ต้องมีการตรวจสายตาอีกหลายขั้นตอน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ ได้ค่าสายตาที่ถูกต้องและได้เลนส์สายตาที่ใส่แล้วสบายตามากที่สุด

--

คำถาม : การวัดสายตาที่ดีจะต้องวัดอะไรบ้าง
คำตอบ : การวัดสายตาที่ดีจะแบ่งเป็น 5 ช่วง
ช่วงที่ 1 การวัด SPH(ค่าสั้นยาว) จะมีการทดสอบระดับการมองเห็นโดยให้อ่านตัวอักษร > การทดสอบเขียวแดงเพื่อดูค่าสายตาสั้นยาว > การคลายการเพ่งเพื่อให้ค่าสายตาไม่ติดค่าการเพ่ง
ช่วงที่ 2 การวัด CYL(การวัดค่าเอียงและองศา) จะมีการทดสอบมองภาพเข็มนาฬิกาเพื่อหาองศาเอียงก่อน > ทำการให้เปรียบเทียบการมองจุดไข่ปลาเพื่อหาองศาแบบระเอียด > เปรียบเทียบการมองจุดไข่ปลาเพื่อหาค่าสายตาเอียง
ช่วงที่ 3 ทดสอบเขียวแดงเพื่อดูค่าสายตาสั้นยาวหลังปรับเอียง > ทำการคลายการเพ่งอีกครั้ง
ช่วงที่ 4 ทำการทดสอบการทำงานร่วมกันของตาทั้งสองข้าง
ช่วงที่ 5 (เฉพาะผู้มีอายุมากกว่า 35) เป็นการวัดความสามารถในการเพ่งปรับโฟกัสจากไกลมาใกล้เพื่อเป็นตัวพิจารณาแนะนำให้เลนส์ กลุ่มลดการเพ่ง และ โปรเกรสซีฟ

Credit : ทศ.ม. กฤชณัฏฐ์  เรียมจันทร์


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้